อัปเดตเนื้อหาข้อสอบสอวน. คอมปี 67
ความคิดเห็นส่วนตัว
โดยส่วนตัว คิดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สมควรทำมาตั้งนานแล้ว (ขอบคุณ สอวน. ที่ปีนี้เปลี่ยนสักที)
การเรียนคอมหรือเขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องคำนวณเก่งหรือคิดเร็ว สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ “คำนวณเป็น” ซะมากกว่า พูดอีกอย่างคือ ควรส่งเสริมการสร้างทักษะความคิดและการให้เหตุผลอย่างเป็นระบบมากกว่า ถ้าอยากคิดเร็วๆ อ่ะหรอ ยกให้คอมพิวเตอร์คิดให้ก็ได้ เดี๋ยวนี้มันคิดเร็วกว่าเราเยอะแล้ว
การลดจำนวนข้อพาร์ทเลขถือว่าดีมาก เพราะเป็นการลดโจทย์เก่าๆ บางข้อที่เป็นการคำนวณคณิตศาสตร์ตรงๆ ทำตามสูตรที่สำเร็จรูปอยู่แล้ว หรือไม่ก็ใช้ทริกต่างๆ มาย่นเวลาการคำนวณ ซึ่งโจทย์แนวนี้ไม่ได้ฝึกความคิดในการประยุกต์ความรู้ต่างๆ มาแก้ปัญหาเลย (โดยเฉพาะเรื่องภาคตัดกรวยที่จำสูตรอย่างเดียว แถมเนื้อหาคอมพิวเตอร์ก็ไม่เคยต้องใช้เรื่องนี้อีกเลย 😶)
ทุกครั้งที่ผมกลับมามองโจทย์แนวคำนวณอย่างเดียวหรือจำสูตรก็ได้แต่คิดว่า “มันทำไปทำไมล่ะ” การฝึกคำนวณโจทย์พวกนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา skill ที่มีประโยชน์เลย (นอกจากคำนวณเร็วขึ้น 🤔)
เอาเวลาที่จะใช้จำสูตรพวกนั้นไปหาแนวความคิดหรือวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ ดีกว่า เพราะสุดท้ายแล้วคณิตศาสตร์ก็เป็นแค่เครื่องมือที่ใช้แสดงออกทางความคิด และเครื่องมือก็ไม่มีประโยชน์ถ้าคนที่มีเครื่องมือนั้นประยุกต์ใช้มันไม่เป็น
ปล. ผมไม่ได้บอกให้ทิ้งคณิตศาสตร์นะ แค่เลขกับทักษะกระบวนการคิดเป็นสิ่งที่ต้องทำไปคู่กัน ไม่ใช่แค่สักแต่ว่าท่องสูตรเลขอย่างเดียว
คำแนะนำทิ้งท้ายสำหรับคนที่กำลังจะสอบ
พาร์ทเลข
- น่าจะยากและซับซ้อนมากขึ้น
- น่าจะได้เห็นหลายๆ เรื่องปนกันในข้อเดียว เช่น ฟังก์ชันรวมกับกราฟ
พาร์ทวิทยาการคำนวณ
- ฝึกอ่านทำความเข้าใจ pseudo code และคิดเป็นลำดับมากขึ้น
- ลองหา logic puzzle มาคิดเล่นเรื่อยๆ เวลาว่าง จะทำให้ชินกับแนวคิดการแก้ปัญหาหลายๆ แนว
- พาร์ทนี้ค่อนข้างกินเวลาพอสมควร ข้อไหนคิดว่ายาวก็ข้ามไปก่อนได้
คำแนะนำโดยรวม
- ไม่ควรหลุดโฟกัสว่ากำลังทำอะไรอยู่ในข้อนั้นๆ
- อ่านทวนคำตอบและเช็กวิธีการที่แก้คำตอบด้วย ถ้าเวลายังเหลือ (ส่วนใหญ่จะทำไม่ทันกัน 😅)
- วางแผนเวลาว่าจะทำพาร์ทไหนก่อน-หลัง เรียงลำดับข้อและเนื้อหาที่จะทำ ถ้าทำไม่ได้ก็ข้ามไปก่อนแล้วกลับมาทำทีหลัง