• 3 min

เนื้อหาค่าย สอวน. คอม ศูนย์กรุงเทพ ปี 2024

เนื้อหา สอวน. ค่าย 1 ปีนี้เปลี่ยนไปอย่างไร และควรเตรียมตัวอย่างไร

เป็ดไอคอนของเรื่องเล่าชาวอัลกอ Practical Algorithms
Practical Algorithms: เรื่องเล่าชาวอัลกอ
เพจที่อยากให้คนไทยมีเนื้อหาอัลกอริทึมดีๆ ให้ได้อ่านกัน
อัพเดตตารางเนื้อหาค่ายที่เปลี่ยนไป และชาวอัลกอพูดว่า "ปีนี้เพิ่มเนื้อหา stack, queue, link list เข้ามาในค่าย1 ด้วย"

บอกก่อนว่านี่อ้างอิงจากศูนย์กรุงเทพเท่านั้น ศูนย์อื่นอาจจะเจอเนื้อหาที่ต่างออกไป (ดูได้ที่โน้ตด้านล่าง)

ส่วนใหญ่พาร์ทคณิตที่เขาจะสอนก็ไม่ได้ต่างอะไรกับเนื้อหาที่ใช้สอบๆกันมานั่นแหละ เอาจริงๆคือเหมือนกันเลย
ถ้าใครผ่านค่ายเข้ามาแล้ว พวกผมก็ค่อนข้างเชื่อว่ายังไงก็รู้ที่เขาจะสอนอยู่แล้ว แต่ฟังไว้บ้างก็ดีอย่าเพิ่งทิ้งหมด
เพราะบางทีเขาก็แอบพูดถึงว่าเขียนโค้ดสำหรับคำนวณเลขส่วนนี้ในคอมยังไงด้วย เช่นการหาค่าของสมการเวียนเกิดโดยใช้ recursive

C Programming

เขาก็จะสอน syntax ทั่วไปของภาษา C แหละ

เช่นพวก การประกาศตัวแปร, printf, scanf, loop, if-else, char* (string), pointer, array ทั้งหลาย, การสร้างโครงสร้างข้อมูลเอง, การอ่าน/เขียนข้อมูลบนไฟล์ ปีนี้ดีหน่อยมี Data Structure พื้นฐานมาบ้างแล้ว

นอกจากนั้นก็จะมีการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เช่นพวกเก็บบิต เก็บไบต์ยังไง ทำแบบ signed หรือ unsigned แล้วเก็บต่างกันยังไง สามารถคำนวณกลับมาเป็นฐาน 10 ได้ด้วยวิธีไหน หรือแปลงค่าลบเป็นบวกยังไง

รวมๆแล้วมันคือพื้นฐานการเขียนโค้ดภาษา C ทั่วไปนี่แหละ (ที่ค่อนข้างจะสอนช้า) ซึ่งพวกผมก็แนะนำให้เตรียมตัวมาก่อนก็ดี (จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ป่าว จะได้ฝึกโจทย์เพิ่มในค่าย 🤣)

แต่ตอนที่สอบเขาไม่ได้ซีเรียสว่าจะใช้ C หรือ C++ นะ แล้วในค่าย 2 ก็ต้องใช้ C++ อยู่ดี ดังนั้นถ้าจะฝึกใช้ C++ ก็ดีนะ

กิจกรรม

บางศูนย์เขาจะมีการจัดกิจกรรมระหว่างที่อยู่ในค่ายด้วย เพื่อให้คนที่เข้าค่ายมาทำความรู้จักกัน

อย่างศูนย์สามเสนจะมีกิจกรรมตอนเช้าหลังปฏิญาณเสร็จ เช่นกิจกรรมฐาน กิจกรรม buddy ซึ่งส่วนใหญ่จะจับกลุ่มกันตามตำแหน่งที่นั่งเรียนกัน พอช่วงประมาณ 9 โมงกว่าๆ ก็จะกลับมาเริ่มเรียนตามปกติ

Exam

สมัยก่อนๆ จะแบ่งเป็นสอบ 2 พาร์ท เป็นพาร์ททฤษฎีที่จะวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ และการอ่านโค้ดและเขียนผลลัพธ์จากการรันโค้ด

โดยจะสอบทั้งหมด 2 ครั้ง และพาร์ทปฏิบัติที่มีการเขียนโปรแกรมลงคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 1 ครั้ง

โดยพวกโจทย์แนวไล่โค้ด (คิดผลลัพท์ของโค้ด) จะมีอยู่ประมาณ 2-3 ข้อ ไม่น่าเกินนี้ ส่วนโจทย์เขียนโปรแกรมมีประมาณ 5-6 ข้อ แต่กรรมการ/อาจารย์ เขาตรวจมือนะ คือแค่ลองไล่ input ไปเรื่อยๆ และไม่มี grader ให้นะ

Note

บางศูนย์ (ไม่พูดละกันศูนย์ไหน…จริงๆก็หลายอยู่ 😅) จะสอนเนื้อหามากกว่านั้นด้วย โดยมันมักจะเป็นเนื้อหาของค่าย 2 ศูนย์กรุงเทพฯ แหละ
เช่นพวกการคำนวณ Asymptote Notation เช่น Big-O, Big-Theta หรือ การเขียนฟังก์ชัน recursive พวก Data Structure เบื้องต้น หรือกระทั่ง Dynamic Programming ก็มี

ปล. ขอบ่นหน่อย… ศูนย์กรุงเทพฯ คือเป็น Baseline แล้ว คือสอนน้อยสุดแล้ว แนะนำมากกกกกๆว่า ถ้าเข้าศูนย์นี้อย่าไปหวังพึ่งแต่เนื้อหาในค่าย หาข้อมูลเองด้วย ไม่งั้นจะตามเขาไม่ทัน(เขาในที่นี้คือศูนย์อื่นๆ เขา)

คนที่รอดๆกันมาได้ทั้งหลายเขาขวนขวายกันเองทั้งนั้น

0